จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 6

1เทคโนโลยีการสื่อสำให้โทรคมนาคม ทำให้ธุรกิจหรือองค์กรต่างๆสามารติดต่อสื่อสารเพื่อดำเนินธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วฉับไว จึงส่งผลมูลค่าทางธุรกิจต่างๆมากมาย ดังนั้นจงยกตัวอย่างมูลค่าทางธุรกิจ จากการนำเทศโนโลยีเพื่อกาารสื่อสารมาใช้กับเทศโนโลยีเพื่อกาารศึกษา หรือธุรกิจอื่สนที่ท่านสนใจ
ตอบ ประยุกต์ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา 
   - งานรับมอบตัว ทำหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานที่นักศึกษานำมารายงานตัว จากนั้นก็จัดเก็บประวัติภูมิหลังนักศึกษา เช่น ภูมิลำเนา บิดามารดา ประวัติการศึกษา ทุนการศึกษา ไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลประวัตินักศึกษา
   - งานทะเบียนเรียนรายวิชา ทำหน้าที่จัดรายวิชาที่ต้องเรียนให้กั บนักศึกษา ในแต่ละภาคเรียนทุกชั้นปี ตามแผนการเรียนของแต่ละแผนก แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลผลการเรียน
   - งานประมวลผลการเรียน ทำหน้าที่นำผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนมาประมวลในแต่ละภาคเรียน จากนั้นก็จัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลผลการเรียน และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
    - งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบรายวิชา และผลการเรียน ที่นักศึกษาเรียนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบหลักสูตร จากแฟ้มเอกสาร ข้อมูลผลการเรียน ว่าผ่านเกณฑ์การจบหรือไม่
     - งานส่งนักศึกษาฝึกงาน ทำหน้าที่หาข้อมูลจากสถานที่ฝึกงาน ในแต่ละแห่งว่าสามารถรองรับจำนวน นักศึกษาที่จะฝึกงานในรายวิชาต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนเท่าใด จากนั้นก็จัดนักศึกษา ออกฝึกงานตามรายวิชา ให้สอดคล้องกับจำนวนที่สถานประกอบการต้องก
าร



2.จงสรุปความแตกต่างระหว่างเครือข่าย LAN, MAN,WAN มาพอสังเกต
ตอบ LAN
           ะบบ LAN ย่อมาจาก Local Aria Network ซึ่งแปลได้ว่า ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก” ที่ต้องประกอบด้วยServer และ Client โดยจะต้องมีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ เครื่องขึ้นไป ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น ผู้ให้บริการ และ ผู้ใช้บริการ โดยที่ ผู้ให้บริการ ซึ่งเป็น Server นั้น จะเป็นผู้ควบคุมระบบว่าจะให้การทำให้การทำงานเป็นเช่นไร และในส่วนของServer เองจะต้องเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีสถานะภาพสูง เช่นทำงานเร็ว สามารถอ้าง หน่วยความจำ ได้มาก มีระดับการประมวลผลที่ดี และจะต้องเป็นเครื่องที่จะต้องมีระยะการทำงานที่ยาวนาน เพราะว่า Server จะถูกเปิดให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง
            MAN
            ระบบแมน (MAN : Metropolitan Area Network) เป็นระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อกันในระหว่างที่กว้างใหญ่ ครอบคลุมระยะทางเป็น 100 กิโลเมตร ที่มีการติดต่อกันในระยะที่ไกลกว่าระบบแลนและใกล้กว่าระบบแวน เป็นการติดต่อระหว่างเมือง เช่น กรุงเทพฯ กับเชียงใหม่ เชียงใหม่กับยะลาหรือเป็นการติดต่อระหว่างรัฐ โดยมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Ring ตัวอย่างเช่น ระบบ FDDI (Fibre Data Distributed Interface) ที่มีรัศมีหรือระยะทางการเชื่อมต่ออยู่ที่ 100 กิโลเมตร อัตราความเร็วอยู่ที่ 100 Mbps มีรูปแบบการเชื่อมต่อที่ประกอบด้วยวงแหวนสองชั้นๆ แรกเป็น Primary Ring ส่วนชั้นที่ เป็น Secondary Ring หรือ Backup Ring โดยชั้น Secondary Ring จะทำงานแทนกันทันทีที่สายสัญญาณใน Primary Ring ขาดFDDI เป็นโปรโตคอลของเครือข่ายที่เน้นการจัดส่งข้อมูลที่ความที่ความเร็วสูง ส่งได้ในระยะทางที่ไกลและมีความน่าเชื่อถือสูง เนื่องจากใช้สายใยแก้วนำแสง จึงมีผู้นำ FDDI สูง มาใช้เป็นแบ็กโบนเพื่อการขนส่ง
                WAN
                 (WAN :Wide Area Network) / Enterprise WAN Networkระบบแวนหรือระบบเครือข่ายระยะไกล คือ ระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีระยะทางห่างกันไกล ซึ่งอาจครอบคลุมเนื้อที่กว้างขวางหรืออาจข้ามประเทศ ข้ามทวีปโดยระบบสื่อสารนี้จะเชื่อมโยงกันโดยอาจใช้สายโทรศัพท์ สายไฟเบอร์ออฟติก คลื่นไมโครเวฟและดาวเทียม เข้าช่วยเพื่อส่งข้อมูลที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง Enterprise Network ประกอบด้วยเครือข่ายใหญ่เล็กมารวมกัน และเชื่อมต่อกันด้วยCore Router และก็เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับแวน ไม่เพียงเท่านั้นการเชื่อมต่อบน Enterprise Network ก็ยังมีเป็นการใช้เทคโนโลยีหลากหลายเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ใช้ก็ยังมีความหลากหลายเช่นเดียวกับ รูปแบบต่างๆของเครือข่าย Enterprise มีหลายแบบดังนี้
การเชื่อมต่อเข้ามาที่เครือข่ายองค์กรโดยทาง Remote Access หรือการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายสาขากับเครือข่ายบริษัทแม่ โดยวิธีการ Remote Access โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะหรืออินเทอร์เน็ตอย่างใดอย่างหนึ่ง
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือเป็นไปในรูปแบบอินทราเน็ต (Intranet) หรือ เอ็กซทราเน็ต
การเชื่อมต่อผ่าน WAN โดยใช้เทคโนโลยีรูปแบบต่างๆ เช่น ATM, ISDN, Fram Relay
การเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตที่ปลอดภัยด้วย VPN (Virtual Private Network)
การเชื่อมต่อแบบระหว่างจุดบน WAN
การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อที่ประกอบด้วยอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย ทั้งสองจุดเชื่อมต่อต่างก็มีปลายด่านหนึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายทั้งสองนี้มีการเชื่อมต่อกันผ่าน WAN ซึ่งโดยมากเป็นการเชื่อมต่อผ่านทางโมเด็ม
การเชื่อมต่อแบบ Star หรือ Hub Spoke
ลักษณะการเชื่อมต่อแบบนี้มีรูปร่างเหมือนแบบ Star โดยมีเครือข่ายต่างๆ หลายเครือข่ายเชื่อมต่อเข้ามาที่เครือข่ายหลักหนึ่งเครือข่าย โดยที่เครือข่ายย่อยต่างๆ หากต้องการสื่อสารกับเครือข่ายอื่นจะต้องวิ่งผ่านเข้ามาทางเครือข่ายหลักเพียงแห่งเดียว อย่างไรก็ดีหากอุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นเราเตอร์การเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นแบบที่เรียกว่าHub and Spoke
การเชื่อมต่อ Partial Mesh และ Fully Mesh
เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อที่มีเส้นทางหลายเส้นทางโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้มีเส้นทางทดแทนกันในกรณีที่เส้นทางเกิดปัญหา รวมทั้งการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทางบางตัวที่เอื้ออำนวยให้สามารถส่งข้อมูลข่าวสารผ่านเส้นทางพร้อมกันหลายเส้นทางในลักษณะของการแบ่งกระแสข้อมูลข่าวสารออกไปบนเส้นทางหลายเส้นทาง เพื่อมุ่งสู่ปลายทาง (Load Sharing)
ระบบแมน (MAN) สามารถรวมระบบแลน (LAN) หลาย ๆ ระบบเข้าด้วยกันและระบบแวน (WAN) ก็เป็นการรวมระบบแมนและระบบแลนหลาย ๆ ระบบเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจใช้เทคโนโลยีต่างกันก็ได้ นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายระยะไกล ได้แก่ ระบบเครือข่าย ISDN (Integrated Services Digital Network) เป็นระบบเครือข่ายดิจิตอล ซึ่งสามารถส่งข้อมูลที่เป็นภาพและเสียงผ่านตัวเชื่อมเข้ากับระบบ ISDN โดยไม่ต้องใช้โมเด็มแปลงสัญญาณอนาล็อกและดิจิตอล

3.การที่ประเทศไทยเริ่มนำโครงข่าย 3G มาใช้ คิดว่ามีประโยชน์อย่างไรต่อท่านและสังคมโดยรวม
ตอบ  มีประโยชน์เพราะว่าช่วยในการติดต่อสื่อสารได้สะดวกและรวดเร็วใช้ตอนไหนก็ได้ใช้เน็ตในการหาข้อมูลก็รวดเร็ว ใช้ดูหนังฟังเพลงก็ชัดแจ๋ว  และสามารถติดต่อกับคนที่อยู่ไกลๆได้โดยไม่ต้องไปหาถึงที่


4.ในการเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้ด้วยวิธีใดบ้าง
ตอบ  คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authorityซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็นPublic address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information centerแต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง

ถ้ามีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Providerเพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน
IP address คือเลข ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข
1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254
1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534
1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214

5.อยากทราบว่าสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานของท่านได้ใช้วิธีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตด้วยวิธีใดบ้าง ในขณะเดียวกันที่บ้านพักหรือหอพักของท่านใช้วิธีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตด้วยวิธีใด เพราะอะไร
ตอบ การเชื่อมต่อแบบ Dial Up คือโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ส่วนบ้านพักหรือห่อพักจะใชระบบไร้สายเพราะสดวกและง่ายต่อการใช้สมามารถใช้ได้ทุกที่และทุกเวลา

แบบฝึกหัดที่ 2

1.ในการศึกษาระบบสารสนเทศให้มีความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรู้ทางด้านใดบ้างเพราะ
ตอบ ระบบสารสนเทศในองค์กร
         ระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการบริหาร
         ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
         ระสนับสนุนการตัดสินใจ
         ระบบผู้เชี่ยวชาญ
         ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและขบวนการทางะธุรกิจ
2มีสิ่งแวดล้อมใดบ้างที่มีผลกระทบต่อองค์กร
ตอบ   1. การขาดความสมดุลของระบบนิเวศน์          
          2. การทำลายชั้นบรรยากาศ ("OZONE")
          3. การเกิดฝนกรด
          4. การร้อนขึ้นของอุณหภูมิโลก
          5. มลพิษทางน้ำ       
          6. มลพิษทางดิน
          7. การเกิดความไม่สมบูรณ์ของดิน
          8. ขยะ
3.กลยุทธ์หมายถึงอะไร
ตอบ กลยุทธ์ (อังกฤษ: strategy) หรือ ยุทธศาสตร์ เป็นศัพท์ที่มีกำเนิดในทางทหาร หมายถึง แผนการปฏิบัติซึ่งวางเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์จำเพาะ กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ในทางทหารนั้นแตกต่างจากยุทธวิธี ซึ่งว่าด้วยการดำเนินการรบปะทะ (engagement) ขณะที่ยุทธศาสตร์นั้น ว่าด้วยวิธีการเชื่อมโยงการรบปะทะต่าง ๆ เข้าด้วยกัน คำถามที่ว่า "จะสู้รบอย่างไร" เป็นปัญหาทางยุทธวิธี แต่ข้อกำหนดและเงื่อนไขซึ่งมีการสู้รบกันและความเหมาะสมในการสู้รบกันนั้นเป็นปัญหาทางยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสงคราม (warfare) สี่ระดับ ได้แก่ วัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือยุทธศาสตร์หลัก, ยุทธศาสตร์, ปฏิบัติการและยุทธวิธี นักคิดคนหนึ่งนิยามยุทธศาสตร์ไว้ว่าเป็น "วิถีอย่างครอบคลุมในอันที่จะพยายามปฏิบัติเพื่อผลเบื้องปลายทางการเมือง รวมทั้งการข่มขู่หรือการใช้กำลังอย่างแท้จริง ในวิภาษวิธีแห่งเจตจำนง ซึ่งจำต้องมีอย่างน้อยสองฝ่ายในความขัดแย้งหนึ่ง ๆ ฝ่ายเหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์กัน และดังนั้น ยุทธศาสตร์จะประสบความสำเร็จน้อยครั้งหากไม่แสดงความสามารถในการดัดแปลง"[1] ยุทธศาสตร์ได้ขยายออกนอกสาขาการทหาร ไปยังธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ ทฤษฎีเกม และสาขาอื่น
4.แบบจำลองแรกกดดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 1) สภาพการแข่งขันภายในตัวธุรกิจนั้นเอง  คือคู่แข่งต่างๆที่มีอยู่แล้ว เห็นๆ หน้ากันอยู่ อันนี้ก็คือใครดีใครอยู่ เรียกว่าทำด้วยกัน ขายของให้กับลูกค้ากลุ่มเดียวกัน เช่น DTAC กับ AIS, หรือ Coke กับ Pepsi เป็นต้น
        2) สภาพการแข่งขันจากภายนอกธุรกิจนั้น   คือคู่แข่งที่อาจจะกระโดดเข้ามาร่วมสังเวียนด้วยในอนาคต การจะป้องกันคู่แข่งที่จะเข้ามา ก็ต้องอาศัยความที่ธุรกิจได้ดำเนินการมาก่อน เช่นผลิตของจำนวนมากๆ ทำให้เกิดการประหยัดเนื่องจากขนาด (Economic of Scale) ทำให้มี Profit Margin ต่ำจนกระทั่ง ไม่เกิดการจูงใจให้ผู้อื่นโดดเข้ามาแข่งขันด้วย เนื่องจากไม่คุ้มค่าความเสี่ยง
         3) สภาพแรงกดดันจากคู่แข่งทางอ้อมหรือสินค้าทดแทน     จริงๆแล้วก็เป็นธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่อุตสาหกรรมนั้นสามารถทำกำไรได้มากมาย จนเป็นที่ชำเลืองมองของคนอื่นที่อยู่นอกระบบ วันหนึ่งเขาก็อาจจะอยากกระโดดเข้ามามีส่วนร่วมขายของทดแทนเพื่อทำเงินบ้าง ผู้ที่จะอยู่ได้จะต้องมีสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า มีลักษณะเด่นกว่า ที่ไม่สามารถถูกทดแทนได้โดยง่ายจากสินค้าประเภทอื่น
       4) อำนาจต่อรองจากผู้ขายวัตถุดิบให้กับธุรกิจ   เช่นหากมีผู้จำหน่ายวัตถุดิบชนิดนี้น้อยราย, หรือเป็นของจำเป็นที่ต้องซื้อ ไม่สามารถซื้อจากคนอื่นได้, หรือธุรกิจจะต้องเสียเงินในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการหากต้องการเปลี่ยนวัตถุดิบ เมื่อเป็นดังนี้แล้วผู้ขายวัตถุดิบก็เล่นตัวขึ้นราคาเอามากๆ หรือไม่ตั้งใจสำรองวัตถุดิบนั้นไว้ให้มีเพียงพอใช้ในยามต้องการ อาจจะเกิดความขาดแคลนได้ง่ายเมื่อจำเป็น
        5) อำนาจต่อรองจากผู้ซื้อ   ในกรณีนี้เช่นถ้าผู้ซื้อเป็นผู้ซื้อรายใหญ่เพียงรายเดียว, หรือสามารถซื้อสินค้าจากใครก็ได้ เพราะไม่ได้มีลักษณะเด่น หรือใช้ได้เหมือนกันโดยไม่ต้องแปลงกระบวนการ (ไม่มี Switching Cost หรือมีแต่น้อยมาก), หรือเป็นสินค้าที่ผู้ซื้ออาจจะมาผลิตเองได้ ก็อาจจะขอต่อรองราคาให้มีส่วนลดได้มากๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์เพื่อชิงความได้เปรียบ ประกอบด้วยกลยุทธ์ใดบ้างจงสรุปมาพอเข้าใจ
ตอบ1.การลดต้นทุน2.การสร้างอุปสรรคไม่ให้คู่แข่งเข้ามาในตลาด3.การสร้างให้เกิดต้นทุนที่สูงถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์4.การสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่5.การทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือบริการที่หลากหลาย6.การปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ดีขึ้น7.การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ และการผูกมัดกับผู้ส่งชิ้นส่วนและผู้ซื้อ 

6.จากคำกล่าวที่ว่า "องค์กรของเรา จะไม่สามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันได้เลย เพราะเราขาดเครื่องมืออย่าง ระบบสารสนเทศ" อยากทราบว่า มีส่วนถูกต้องหรือไม่ อย่างไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ ถูกต้อง เพราะถ้าขาดระบบสารสนเทศนั้นรูปแบบงานในองค์กรของเราก็จะไม่เป็นรูปแบบเดียวกันและทำให้งานกระจัดจาย
7โซ่คุณค่า หมายถึงและประกอบด้วยกิจกรรมใด
ตอบ ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตามแนวคิดของ Michael E. Porter ที่เขียนไว้ในหนังสือ Competitive Advantage (1985) เป็นแนวคิดที่ช่วยในการทำความเข้าใจถึงบทบาทของแต่ละหน่วยงานปฏิบัติการว่าจะมีส่วนช่วยเหลือให้องค์กรธุรกิจก่อกำเนิดคุณค่าให้แก่ลูกค้าอย่างไร โดยคุณค่าที่บริษัทสร้างขึ้นสามารถวัดได้โดยการพิจารณาว่าผู้บริโภคยินยอมที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทมากน้อยเพียงใด
แนวคิดนี้แบ่งกิจกรรมภายในองค์กร เป็น 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมหลัก (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) โดยกิจกรรมทุกประเภทมีส่วนในการช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการของบริษัท
กิจกรรมหลัก 5 กิจกรรมเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือสร้างสรรสินค้าหรือบริการ การตลาดและการขนส่งสินค้าหรือบริการไปยังผู้บริโภค ประกอบด้วย Inbound Logistics กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการได้รับ การขนส่ง การจัดเก็บและการ แจกจ่ายวัตถุดิบ การจัดการสินค้าคงเหลือ Operations กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนหรือแปรรูปวัตถุดิบให้ออกมา เป็นสินค้า เป็นขั้นตอนการผลิต การบรรจุ
Outbound Logistics กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ รวบรวม จัดจำหน่ายสินค้า และบริการไปยังลูกค้าMarketing and Sales กิจกรรมที่เกี่ยวกับการชักจูงให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการ เช่น การโฆษณา ช่องทางการจัดจำหน่าย Services กิจกรรมที่ครอบคลุมถึงการให้บริการเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า รวมถึงการบริการหลังการขายการแนะนำการใช้
        ส่วนกิจกรรมสนับสนุนเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้กิจกรรมหลักสามารถดำเนินไปได้ ประกอบด้วยProcurement กิจกรรมในการจัดซื้อ-จัดหา input เพื่อมาใช้ในกิจกรรมหลัก การเจรจาต่อรองกับ SupplierTechnology Development กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยในการเพิ่มคุณค่ให้สินค้าและบริการหรือกระบวนการผลิต Human Resource Management กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่วิเคราะห์ความต้องการ สรรหาและคัดเลือก ประเมินผล พัฒนา ฝึกอบรม ระบบเงินเดือนค่าจ้าง และแรงงานสัมพันธ์ Firm Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ได้แก่ ระบบบัญชี ระบบการเงิน การบริหารจัดการขององค์กรกิจกรรมหลักข้างต้นจะทำงานประสานงานกันได้ดีจนก่อให้เกิดคุณค่าได้นั้นจะต้องอาศัยกิจกรรมสนับสนุนทั้ง 4 กิจกรรม ซึ่งได้แก่ โครงสร้างองค์กร (Firm Infrastructure) ได้แก่ ระบบบัญชี ระบบการเงิน การบริหารจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Development) และการจัดหา (Procurement) นอกจากกิจกรรมสนับสนุน จะทำหน้าที่สนับสนุนกิจกรรมหลักแล้ว กิจกรรมสนับสนุนยังจะต้องทำหน้าที่สนับสนุนซึ่งกันและกันอีก

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจมีกี่ประเภทอะไรบ้าง


ประเภทของระบบสารสนเทศ มี 5 ประเภท ได้แก่
         1   ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ  (Transaction Processing System : TPS)
            
ระบบการประมวลผล เป็นการประมวลผลแบบวันต่อวัน เช่น การรับ-จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการรับ-จ่าย สินค้า เป็นต้น ใช้งานในระดับผู้ปฏิบัติการ ระบบนี้ เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
 ลักษณะเด่นของ TPS
        ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สิ่งที่ องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ  ลดจำนวนพนักงาน   องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว    ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ตัวอย่าง
1.      จงยกตัวอย่างระบบที่เป็น Enterprise system มา 2 ชื่อ
1.    Enterprise  resource  planning  systems  ระบบการวางแผนทรัพยากร
2.    Customer  relationship  management  systems  ระบบจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า
2.       Enterprise system  มี ... แบบ
1.       แบบใช้คนเดียว
2.      แบบใช้ร่วมกัน
เป็น key ที่สำคัญในการใช้งานของระบบ
Database  ฐานข้อมูล  
3.        Transaction processing systems คือ
ระบบประมวลผลรายการ  จะเป็นการทำงานที่ทำซ้ำ ๆ ทุก ๆ วัน
……………………………………………………………………………………………………………
4.             MIS กับ TPS  ระบบใดมีข้อมูล input/output มากกว่ากัน
TPS  คือ ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (Transaction Processing System : TPS) ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ มักเป็นการประมวลผลต่อวัน เช่น การรับ  จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบรายรับ  จ่ายสินค้า ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับ การพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
………………………………………………………………………………
5.             Batch processing system คือ
ประมวลผลเป็นช่วง ๆ เวลา  เช่น  ประมวลผลสัปดาห์ละครั้ง  หรือ  เดือนละครั้ง  แต่จะมีการเก็บข้อมูลของทุกวันรวบรวมไว้ด้วย
………………………………………………………………………………
6.             องค์กรธุรกิจ คาดหวังสิ่งที่จะได้จากระบบงาน TPS อะไรบ้าง จงบอกมา 2 ข้อ
1. ทำธุรกรรมทางธุรกิจได้
2. ระบบต้องมีความถูกต้องแม่นยำสูงขึ้น
……………………………………………………………………………………………………………
7.             Transaction processing cycle มี 6 ขั้นตอน คือ
7.1 Data  collection               การเก็บรวบรวมข้อมูล
        7.2 Data  editing                              การตรวจสอบข้อมูล
        7.3 Data  correction                        การแก้ไขข้อมูล
        7.4 Data  manipulation                  การนำข้อมูลไปใช้
        7.5 Data  storage                             การจัดเก็บข้อมูล
        7.6 Document  production                            การสร้างเอกสาร
……………………………………………………………………………
8.             จงเลือกอธิบาย 2 ข้อจาก 6 ข้อ ของ Transaction processing cycle
Data  collection  การเก็บรวบรวมข้อมูล  ทำได้   แบบ  คือ
1. เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยมือ
2. ใช้อุปกรณ์พิเศษเข้าช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล
Data  editing  การตรวจสอบข้อมูล  นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาตรวจสอบความถูกต้อง  เช่น  จำนวน  ราคา  ชื่อที่เป็นตัวอักษร  ชื่อที่เป็นตัวเลข ฯ
……………………………………………………………………………………………………………


9.             มาตรการในการควบคุมและจัดการระบบงาน TPS มี 2 ข้อ
      1.       สิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับระบบสารสนเทศ  เช่น  เครือข่าย  ฐานข้อมูล  อุปกรณ์  โปรแกรม
     2.  สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ระบบสนใจ  คือ  เรื่องเงิน
……………………………………………………………………………………………………………
      10. Transaction Processing Applications แบบดั้งเดิม มี 3 ระบบงานหลักๆคือ
1. Order  Processing  การสั่งซื้อจากลูกค้า
2. Purchasing  จัดซื้อจากเราให้ร้านค้า
        3.    Accounting  รายงานเกี่ยวกับบัญชี
……………………………………………………………………………………………………………
10.      จงเลือก 1 ใน 3 ระบบงานของ TPS มาอธิบายขั้นตอนการทำงาน
Order  Processing  การสั่งซื้อจากลูกค้า
1. รับ  Order  จากลูกค้า
2. เตรียมสินค้าให้ลูกค้า
3. วางแผนการจัดส่ง
4. จัดส่งสินค้าให้ลูกค้า
5. สินค้าคงคลัง  (สินค้าที่ผลิตพร้อมจัดส่งให้ลูกค้าได้)
6. บัญชีรายรับ
……………………………………………………………………………………………………………
2                 ระบบอะไร ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่าง employee กับ supplier
Purchasing  Systems  การจัดซื้อ
……………………………………………………………………………………………………………
3                 ระบบอะไร ที่มีเรื่องเงินของ customer กับ employee เข้ามาเกี่ยวข้อง
Accounting  Systems  รายการการเงิน
……………………………………………………………………………………………………………
14.   ERP คือ
การรวมทุก ๆ ระบบในองค์กรเข้าไว้ด้วยกัน  ไม่ว่าองค์กรจะมีที่เดียวหรือหลายที่ก็ตาม
………………………………………………………………………………………………………………
15.      จงบอกข้อดีของ ERP มา 2 ข้อ
1.    ส่งเสริมการตัดสินใจเพิ่มขึ้น
2.    ส่งเสริมกระบวนการทางธุรกิจให้ดีขึ้น
………………………………………………………………………………………………………………
16          จงบอกข้อเสียของ ERP มา 2 ข้อ
1.    ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น  และเวลามากขึ้นในการทำระบบ  ERP
2.    ยากที่จะเปลี่ยนแปลง
……………………………………………………………………………………………………………
17          Production and Supply Chain Management  นั้น จงอธิบาย ข้อต่อไปนี้
1.    Production คือ การผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้า
2.    Sales forecasting คือ ประมาณความต้องการของลูกค้าในอนาคต
3.    Materials requirement planning คือ การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ
……………………………………………………………………………………………………………
18           องค์กรทางธุรกิจ อยากให้ CRM  ทำอะไรได้บ้าง
1.    การตลาดและการโฆษณา
2.    การขาย
3.    การบริการหลังการขาย
4.    การสร้างความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อสินค้าของเรา
……………………………………………………………………………………………………………
19           จงบอกขั้นตอนการทำ Sales ordering  5 ข้อ
1.    บันทึกสิ่งที่ลูกค้าซื้อ
2.    คิดราคาขาย / ตั้งราคาขาย
3.    บันทึกปริมาณที่ลูกค้าสั่งซื้อ
4.    รวมราคาจัดส่ง  ไว้ในราคาสินค้า
5.    ถ้าลูกค้าชำระเงินแบบผ่อนส่ง  ชำระแบบใดให้ดูตามความเหมาะสมของลูกค้า
…………………………………………………………………………………………………………

20          ที่มีผลต่อระบบ Enterprise Systems มา 2 ข้อ
1.    ความแตกต่างในเรื่องภาษาและวัฒนธรรม
2.    ความไม่เท่าเทียมกันของเทคโนโลยีพื้นฐาน
……………………………………………………………………………………………………………

           ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ   (Management Information   System : MIS)
                
คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้ บริหารที่ต้องการการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการ ช่วยงานแบบวันต่อวัน ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่าง ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อขยายขอบเขตความสามารถของธุรกิจ
 ลักษณะเด่นของ MIS
 จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บ ข้อมูลรายวัน
 จะช่วย ให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
3จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่ เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
4ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการ ใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น   
ตัวอย่าง  

กรณีศึกษานกแอร์ 
กรณีศึกษา   สายการบินนกแอร์  เปิดตัวนวัตกรรมการบริการลูกค้าผ่านiphone
      นกแอร์คือสายการบินราคาประหยัดที่มุ่งมั่นที่จะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้การเดินทางโดยเครื่องบินไม่เป็นสิ่งที่หรูหราราคาแพงสำหรับคนไทยอีกต่อไป  ประชาชนคนไทยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความอบอุ่นในครอบครัวมากขึ้น เพราะจากการไปมาหาสู่กันได้ง่ายขึ้นและมีความประหยัดโดยปราศจากข้อจำกัดจากการเดินทางโดยเครื่องบิน  ในราคาที่สูงเกินกว่าจะใช้บริการได้  ดังนั้นเราจึงมุ่งมั่นเพื่อการให้บริการที่ดีเยี่ยมและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้โดยสารที่เป็นลูกค้าของเรา
     นอกจากการให้บริการแก่ลูกค้าทั่วไปผ่านทางเว็บไซต์ของนกแอร์แล้ว   ปัจจุบันนกแอร์ได้เพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารผ่านnokair iphone  Application  เพื่อเพิ่มช่องทางมอบความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารที่ใช้iphone, ipodtouchและ  ipad  ไม่ว่าจะเป็นการเช็คราคาค่าโดยสาร  ตรวจสอบตารางการบิน  ดูข้อมูลการเดินทาง  เช็กอินและเลือกที่นั่ง  หรือแม้กระทั่งการจองตั๋วโดยสารและชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสหรือ  ATM  ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายยิ่งขึ้น  อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นE- Boarding  Pass  เพื่อแสดงและขึ้นเครื่องได้ทันที  เป็นการตอกย้ำการเป็นสายการบินที่ไฮเทคที่สุดของประเทศไทยอย่างแท้จริง  นอกจากนั้นคุณยังสามารถส่งข่าวสารการอัปเดตข้อมูล  เกี่ยวกับการเดินทางของคุณกับนกแอร์ผ่านfacebookและTwitter  เท่านี้  การเดินทางกับนกแอร์ก็เป็นเรื่องง่ายๆ  เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส
           ปัจจุบันลูกค้าที่เป็นผู้โดยสารของนกแอร์  สามารถสำรองที่นั่งผ่านทางเว็บไซต์ของนกแอร์  www.nokair.comหรือผ่านCall  Center  ซึ่งผู้โดยสารสามารถเลือกชำระค่าโดยสารได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการชำระผ่านบัตรเครดิตทางเว็บไซต์ผ่านCall หรือเลือกชำระเป็นเงินสดผ่านทางเคาน์เตอร์เซอร์วิสใน  7-  eleven  ทุกสาขาทั่วประเทศรวมถึงการเลือกชำระผ่านตู้  ATM  นอกจากนี้แล้ว  ยังมีนวัตกรรมใหม่ล่าสุด  คือการเลือกใช้iphone  ในการเลือกเดินทางไปกับนกแอร์
คำถามจกากรณีศึกษา
1. ทำไมนกแอร์จึงตัดสินใจพิจารณาเลือกใช้ iphone  กับการดำเนินธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชั่นแบบไร้สายในครั้งนี้จงอธิบายพร้อมเหตุผลประกอบ
เพื่อแข่งขันกับบริษัทสายการบินอื่นๆที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารให้แก่ผู้โดยสาร
2.  E- Boarding  pass  คืออะไร  นำมาใช้ประโยชน์อย่างไร  และช่วยประหยัดต้นทุนได้อย่างไร
คือตั๋วเครื่องบินออนไลน์มีประโยชน์คือช่วยเพิ่มความสะดวกสบายโดยไม่ต้องเดินทางไปจองตั๋ว  ช่วยประหยัดในด้านเวลา และค่าน้ำมันแก่ผู้โดยสารและประหยัดต้นทุนด้านกระดาษ
3.  จกการดำเนินธุรกรรมของนกแอร์ผ่านiphone จัดเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซในรูปแบบใด
จัดเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซบนเว็บ
                 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support System : DSS)
                      คือระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียม สารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งเพื่อช่วย ในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสิน ใจเกี่ยวกับการรวม
บริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่
ลักษณะเด่นของ DSS :
1.จะช่วย ผู้บริหารในกระบวนการการตัดสิน
2 จะถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบ กึ่งโครงสร้างและแบบไม่มี
โครงสร้าง
3 จะต้อง สามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้น ที่ระดับวางแผนบริหาร
และวางแผนยุทธศาสตร์
4 มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความ สามารถในการจำลองสถานการณ์ และ
มีเครื่องมือในการ วิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
           
           4 ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS)
                  คือ EIS ประเภท พิเศษ ที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะช่วย ให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบ สารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบ สัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกัน ทำให้ผู้ บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
ลักษณะเด่นของ EIS

1ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
2 ระบบสามารถใช้งานได้ง่าย
3 มีความยืดหยุ่นสูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
4 การใช้งาน ใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
5 การสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับสูง ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
6 การสนับสนุนข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
7 ผลลัพธ์ที่แสดง ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
8 การใช้งานกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่าง ๆ
9 ความเร็วในการตอบสนอง จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด
            

             5.ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Artificial Intelligence/Expert System : AI/ES)                 
                  หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ในสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยได้รับ ความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้(Knowledge Base) และกฎข้อวินิจฉัย(Inference Rule) ซึ่งเป็นความ สามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัย ความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้า โดยใช้คอมพิวเตอร์
ลักษณะเด่นของ AI/ES

1 ป้องกันและรักษาความรู้ซึ่งอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูลหรือการยกเลิกการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอดจนการสูญหาย เนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้ อย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ แบบแผน
2 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน และมักจะถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาในทันทีที่เกิดความต้องการ
3 การออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีประสิทธิภาพ
4 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอน เนื่องจากระบบถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศ จากผล กระทบ ทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เช่น ความเครียด ความเจ็บ ป่วย เป็นต้น
5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การสมัยใหม่

 ( Modern Organization ) ที่ต้องการ สร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การวิเคราะห์และวางแผนการตลาด การลดต้นทุน การเพิ่มการผลิตภาพ เป็นต้น